ปัญหาการมองเห็นของผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงสายตาของผู้สูงอายุทำให้เกิดปัญหาการมองเห็น ปัญหาเหล่านี้จะเริ่มต้นเมื่ออายุ 40 ขึ้นไป
โดยประมาณและจะเริ่มเด่นชัดหรือเป็นมากขึ้นเมื่ออายุประมาณ 60 ปี เริ่มจากการมีสายตายาวทำให้มีปัญหาเรื่องการมองในระยะใกล้แต่การมองในระยะไกลปกติ อีกทั้งปัญหาเรื่องแสงที่ไม่เคยเกิดก็เกิดขึ้นทำให้เกิดเป็นโรคตาในผู้สูงอายุซึ่งมีหลายโรคได้แก่ สายตายาว ตาแห้ง จอประสาทตาเสื่อมและโรคต้อชนิดต่างๆ ที่ทำให้เกิดตาพร่ามัวในผู้สูงอายุ อาการตาพร่ามัวเป็นยังไง คือการมองเห็นแสงสะท้อน เช่นมองภาพหรือวัตถุใดๆแล้วเห็นเป็นเงาสะท้อน หากกำลังขับขี่รถอยู่จะสู้แสงไม่ไหวจนต้องหยุดรถ โรคที่เกี่ยวกับตาหากเราหาความรู้เพื่อทำความรู้จักเข้าใจถึงสภาพของดวงตาและสภาพร่างกายของเราแล้วอาจจะช่วยชะลอหรือผ่อนหนักเป็นเบาอันตรายที่จะได้รับจากโรคที่จะเกิดขึ้นกับดวงตาได้
ปัญหาสายตาผู้สูงอายุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสายตาของผู้สูงอายุที่อาจมีสาเหตุมาจากความเสื่อมสภาพของดวงตาโดยตรงที่ทำให้เกิดอาการตาพร่ามัวในผู้สูงอายุเช่น จอตาเสื่อมหรือเกิดต้อกระจก กับสาเหตุที่เกิดต่อเนื่องมาจากโรคทางกายภาพอันได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น ดังนั้นหากคุณดูแลรักษาสุขภาพโดยรวมได้ดีก็จะส่งผลให้ดวงตาของคุณมีสุขภาพที่ดีไปด้วย ผู้สูงอายุที่ดูแลดวงตาได้ดีจะเป็นการป้องกันปัญหาสายตาของผู้สูงอายุไปได้พร้อมกันซึ่งทำได้ดังนี้คือ
อาหารบำรุงสายตาผู้สูงอายุ นอกจากจะกินอาหารให้ได้สารอาหารตามที่ร่างกายต้องการแล้ว ในการดูแลสุขภาพดวงตาสารอาหารบำรุงสายตาผู้สูงอายุมีหลายชนิดด้วยกันเช่น วิตามินเอ กรดไขมัน โอเมก้า 3 วิตามินอี วิตามินซี ธาตุสังกะสี ลูทีนและซีแซนทีน. ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะมีอยู่ใน ปลา ถั่ว ไข่ ผักและผลไม้ที่มีสีต่างๆ เช่น สีเขียว แดง ส้ม ได้แก่ ผักโขม คะน้า ส้ม มะนาว สตรอเบอรี่ มะเขือเทศ ฯลฯ ธาตุสังกะสีจะมีในอาหารจำพวกไข่แดง ส่วนโอเมก้า 3 จะมีในปลาทะเลน้ำลึกเช่น ปลาแซลมอน เป็นต้น
การใช้งานและถนอมดวงตาอย่างเหมาะสม การใช้งานดวงตาอย่างเหมาะสมจะเป็นการป้องกันปัญหาสายตาผู้สูงอายุไม่ทำให้ตาเสื่อมก่อนวัยอันควรทำให้เกิดอาการตาพร่ามัวในผู้สูงอายุกลายเป็นคนแก่ตามองไม่เห็น ซึ่งได้แก่ หากผู้สูงอายุจำเป็นต้องออกไปในที่โล่งสว่างจ้าแดดแรงก็ควรจะปกป้องดวงตาด้วยการใส่แว่นกันแดดและไม่อยู่ในที่มีแสงแดดจ้านานเกินไป หากผู้สูงอายุจำเป็นต้องใช้สายตาในที่มืดก็ต้องปรับระดับแสงให้พอเหมาะกับสายตาและหากทำได้ควรเลี่ยงการใช้สายตาในที่มืดเพื่อเป็นการถนอมดวงตาให้อยู่กับเราให้นานที่สุด
พักผ่อนให้เพียงพอ ผู้สูงอายุควรนอนให้ได้อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง เพราะดวงตาเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเมื่อร่างกายได้พักผ่อนดวงตาก็ได้พักผ่อนไปด้วย ทุกวันนี้คนใช้โทรศัพท์มือถือก่อนนอนกันจนเป็นนิสัย(ที่ไม่ดี) ติดตัว มักจะปิดไฟและใช้โทรศัพท์มือถือก่อนนอน นั่นจะเป็นการทำร้ายดวงตาทำให้เกิดปัญหากับสายตาได้มากโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่สภาพร่างกายมีความเสื่อมถอยตามวัยอยู่แล้วจำเป็นต้องดูแลและถนอมสายตาให้มากกว่าปกติ สภาพแวดล้อมและสิ่งต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อร่างกายและสายตาก็ควรหลีกเลี่ยงเช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ เป็นต้น
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาสุขภาพต้องไปพบหมอตามนัดเป็นประจำอยู่แล้วเพื่อติดตามและประเมินว่าปัญหาสุขภาพไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ สามารถควบคุมได้หรือลุกลามไปถึงไหนแล้ว ปัญหาสายตาในผู้สูงอายุก็เช่นกันจำเป็นต้องไปพบหมอตามนัดเพื่อประเมินอาการและรับคำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลดวงตาผู้สูงอายุเพื่อป้องกันและถนอมดวงตาให้อยู่ต่อไปได้นานที่สุด.