การดูแลผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ มีความแตกต่างจากโรคความดันโลหิตสูงในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิตที่สำคัญปัจจัยหนึ่งคือ ความดันสูงในผู้สูงอายุ อายุ เมื่ออายุมากขึ้น(สูงวัย) กลไกการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดที่ขาดความยืดหยุ่นเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อรวมกับปัจจัยอื่นๆ เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้องเช่น ติดกินเค็ม ชอบกินอาหารทอด มัน รสจัด ฯลฯ ทำให้ผู้สูงอายุส่วนมากจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง การดูแลผู้สูงอายุที่มีความดันโลหิตสูงก็เพื่อป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดตามมากับอวัยวะที่สำคัญเช่น หัวใจ หลอดเลือด สมอง ตา ไต เป็นต้น

ความดันผู้สูงอายุเท่าไหร่ ความดันปกติผู้สูงอายุใช้เกณฑ์เดียวกับความดันโลหิตในวัยผู้ใหญ่กล่าวคือไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทสำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุอยู่ในช่วง 60-79 ปี สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไปค่าความดันโลหิตเป้าหมายไม่ควรเกิน 150/90 มิลลิเมตรปรอท

สาเหตุโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ กลไกการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคือการเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือดที่ถูกส่งออกจากหัวใจและการเพิ่มขึ้นของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลไกเหล่านี้เกิดมากขึ้นก็เพราะอายุที่มากขึ้นสภาพความเสื่อมถอยของร่างกายจะมากขึ้นตามอายุ หลอดเลือดแดงที่เคยยืดหยุ่นได้ดีเมื่ออายุมากขึ้นผนังหลอดเลือดแดงจะหนาและแข็งมากขึ้น อีกทั้งการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดทำให้ผนังหลอดเลือดยิ่งมีความแข็งมากขึ้น การตอบสนองต่อระบบประสาทลดลงทำให้สูญเสียความสามารถในการหดตัวและคลายตัวหลอดเลือดจึงมีความต้านทานส่วนปลายมากขึ้นทำให้หัวใจต้องงานหนักกว่าปกติในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ปัจจัยร่วมที่ทำให้กลไกการเกิดโรคความดันโลหิตสูงทำงานคือพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องในชีวิตประจำวันเช่น น้ำหนักเกิน ติดกินเค็ม มัน หวาน ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เครียด ผู้สูงอายุส่วนมากมักจะมีโรคประจำตัวอื่นๆ อีกเช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคเรื้อรังและภาวะผิดปกติเหล่านี้จะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

การดูแลผู้สูงอายุความดันโลหิตสูง การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุมีเป้าหมายเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดกับอวัยวะที่สำคัญที่อาจทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้ การรักษาความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุจะใช้ร่วมกันทั้ง 2 วิธีคือการรักษาโดยการใช้ยาและการรักษาโดยการไม่ใช้ยา(ปรับพฤติกรรม) สำหรับการใช้ยารักษานั้นแพทย์จะให้ยาลดความดันโลหิตในปริมาณที่น้อยๆ ก่อนแล้วค่อยๆ ปรับเพิ่มปริมาณยาและชนิดของยาจนสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย ทั้งนี้การดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับยาลดความดันโลหิตต้องคอยสังเกตผลจากการใช้ยาลดความดันโลหิตซึ่งยาแต่ละกลุ่มก็ให้ผลที่แตกต่างกัน

การดูแลผู้สูงอายุความดันโลหิตสูงในเรื่องปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในเรื่องต่างๆ ดังนี้คือ การลดน้ำหนักโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index) เป็นเกณฑ์โดยควบคุมให้ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 18.50 – 24.90 การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารโดยลดอาหารที่มีรสเค็ม มันจัด หวานจัด ให้เน้นกินอาหารที่พวกธัญพืชที่มีไฟเบอร์สูง กินปลา ผักและผลไม้ให้มาก ผู้สูงอายุควรหมั่นออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็วอย่างต่อเนื่องวันละ 30 นาที (3-4 วัน/สัปดาห์) นอกจากนี้ควรงดหรือลดการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่เครียด

โดยทั่วไปผู้สูงอายุจะมีสภาพร่างกายที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงอยู่แล้วและมักจะมีโรคประจำตัว ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นโรคประจำตัวโรคหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มของโรคประจำตัวอื่นๆ ที่อาจตามมาได้หากผู้สูงอายุไม่ดูแลควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติและด้วยสภาพร่างกายที่ผ่านการใช้งานมานานทำให้ร่างกายมีการสึกหรอและเสื่อมถอยจากอายุที่มากขึ้น หากเป็นไปได้ควรดูแลสุขภาพด้วยการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมซึ่งเป็นวิธีตามธรรมชาติไม่ต้องใช้ยาในการช่วยควบคุมความดันโลหิตเพราะการควบคุมความดันโดยวิธีใช้ยาจะมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะภายในร่างกายหากหลีกเลี่ยงได้ควรเลือกควบคุมความดันโดยวิธีธรรมชาติ(ปรับพฤติกรรม)ก่อนและเลือกใช้วิธีควบคุมความดันโลหิตโดยการใช้ยาก็ต่อเมื่อไม่สามารถควบคุมความดันโดยวิธีธรรมชาติได้แล้วเท่านั้น.