การเตรียมตัวแก่ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง

อะไรนะ? จะแก่ทั้งทีต้องมีการเตรียมตัวด้วยนะหรือ ? ไม่ได้เป็นเรื่องล้อเล่นหรือคุยสนุก ๆ เพราะตอนนี้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคคนแก่ครองเมืองแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศที่แก่เร็วมากเนื่องจากประชากรในวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่เร็วมาก Aging society สังคมผู้สูงวัยของไทยคาดการณ์กันว่าภายในปี 2578 ประเทศไทยจะเข้าสู่ระดับ Hyper-Aged Society คือมีประชากรมากกว่า 20 % ที่มีอายุมากกว่า65 ปีขึ้นไป ไม่ได้พูดให้ตกใจแต่พูดให้ตระหนักถึงสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมกับสถานการณ์เช่นนี้

คนที่ต้องเตรียมพร้อมไม่ใช่จะเป็นแต่คนแก่หรือผู้สูงอายุเท่านั้น คนที่อยู่รอบข้างผู้สูงวัยก็ต้องเตรียมตัวเช่นกันเพื่อให้สังคมเป็นไปอย่างปกติสุข before elderlyเป็นที่น่าตกใจว่าคนไทยที่มีอายุ 60 ปีแล้วแต่ยังมีหนี้สินอยู่เป็นจำนวนมาก นั่นยิ่งไม่ต้องพูดถึงเงินเก็บว่าจะมีเท่าไหร่ หลายปีมานี้ทางรัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยของประเทศไทยโดยการเตรียมวางระบบเพื่อดูแลรองรับสังคมผู้สูงวัย แต่เราจะมัวรอการช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ เราต้องวางแผนที่จะแก่อย่างมีคุณภาพไว้ด้วย

อันที่จริงการเตรียมตัวแก่นั้นต้องเริ่มวางแผนตั้งแต่เริ่มทำงานเลยก็ว่าได้เพราะเป็นแผนระยะยาวที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายยามเกษียณหรือต้องออกจากงาน โดยหลักๆ ก็คือเรื่องเตรียมเก็บเงินให้พร้อมใช้และเพียงพอยามเกษียณ ในขณะที่การดำเนินชีวิตในปัจจุบันก็ต้องกินต้องใช้และไหนจะต้องแบ่งเก็บไว้สะสมเพื่อใช้ยามแก่ชรา ซึ่งเป็นวัยที่เราควรมีเงินใช้อย่างเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ และการสร้างความสุขตามสภาพโดยไม่เป็นภาระของลูกหลานและคนรอบข้าง

สิ่งที่ต้องเตรียมตัวก่อนแก่มีหลายด้าน ทั้งในด้านการเงิน การออม สุขภาพ วางแผนหลักประกันความั่นคงทางการเงิน ศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อรายรับรายจ่ายในอนาคต วางแผนการลงทุนเพื่อให้เงินเก็บงอกเงยมากขึ้น ฯลฯ ประเมินตัวเองว่าต้องการใช้ชีวิตในวัยเกษียณอย่างไร ไหนจะเรื่องที่พักจะไปอยู่บ้านพักผู้สูงอายุตามโครงการต่างๆ หรือจะอยู่บ้านเดิมต่อไปก็ต้องจัดเตรียมบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุ.ตอนนั้นต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ วางแผนคิดคำนวนย้อนกลับมาเพื่อรู้ว่า ณ.ปัจจุบันต้องเริ่มเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่จึงจะมีเงินเก็บ ณ.วัยเกษียณตามเป้าหมายที่วางไว้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขในยามแก่ชรา

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเป็นการยากที่จะวางแผนและปฏิบัติตามแผนให้ได้ครบถ้วนเพราะระหว่างทางที่เดินตามแผนนั้นอาจมีเหตุการณ์ที่นอกเหนือความคาดหมายเกิดขึ้นจนทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนไปตามสถานการณ์นั้นๆ แต่เชื่อเถอะว่าการดำเนินชีวิตไปอย่างมีแบบแผนที่แม้จะพบเจอกับอุปสรรคและปัญหาระหว่างทางบ้างก็เป็นสิ่งที่ต้องสู้และแก้ปัญหากันไปย่อมดีกว่าการดำเนินชีวิตไปอย่างไม่มีเป้าหมายอะไรเลย จงเริ่มต้นวางแผนเสียแต่เนิ่นๆ จะได้ ไม่เป็นภาระของลูกหลานหรือเป็นภาระของลูกหลานให้น้อยที่สุด.

อยู่อย่างไรให้มีความสุขในวัยเกษียณ ความสุขและความพึงพอใจชองการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในวัยเกษียณเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี การเตรียมตัวที่ดี-พร้อมและการปรับตัวได้เหมาะสมสามารถช่วยให้วัยเกษียณเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขได้ เทคนิคหรือเคล็ดลับในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในวัยเกษียณคือ การเตรียมความพร้อมทางกาย ผู้สุงอายุส่วนมากจะหลีกเลี่ยงจากโรคประจำตัวไม่ได้จึงจำเป็นต้องพยายามควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่และเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์เน้นผัก ปลาและผลไม้ ลดการบริโภคอาหารแปรรูปและอาหารที่มีการปรุงรสมากเกินไป ผู้สูงอายุต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทั้งนี้ไม่ได้ต้องการร่างกายที่บึกบึนแต่เพื่อเป็นการรักษาสภาพร่างกายไม่ให้ทรุดโทรมเร็วเกินไปอาจทำได้โดยการเดินเร็ว โยคะ วิ่งเบาๆ ฯลฯ การดูแลทางด้านสภาพจิตใจของผู้สูงอายุส่วนมากผู้สูงอายุจะรู้สึกหดหู่-สิ้นหวัง ดังนั้นอาจมีการตั้งเป้าหมายชีวิตเล็กๆ ในช่วงบั้นปลายจะทำให้มีแรงกระตุ้นและมีพลังในการดำเนินชีวิตต่อไปเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น กำจัดความเครียดด้วยการนั่งสมาธืเพื่อทำให้เกิดการผ่อนคลายและหาทำกิจกรรมที่ชอบทำแล้วมีความสุข การรักษาสถานภาพทางสังคมต้องมีการพูดคุยทั้งกับคนในครอบครัวและสังคมรอบข้างเช่นเพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียงอาจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อหาเพื่อนใหม่ๆ ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชม การวางแผนทางการเงินต้องจัดการเรื่องเงินทองให้เพียงพอใช้จ่ายในช่วงบั้นปลายของชีวิต นอกจากเงินใช้กินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้วต้องมีเงินสำรองเผื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน พยายามหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หากต้องเลือกทำกิจกรรมให้เลือกกิจกรรมที่ทำได้โดยไม่ต้องใช้เงินมากเพราะในวัยนี้ต้องใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นไม่ฟุ่มเฟือย ผู้สูงอายุถึงแม้จะเป็นวัยในช่วงบั้นปลายของชีวิตแต่ก็ควรมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ รู้จักเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ให้ทันโลกทันเหตุการณ์ เรียนคอร์สออนไลน์หรือทักษะใหม่ๆ เพื่อให้สมองได้ทำงานบ้าง กิจกรรมที่ทำอาจเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลสภาพแวดล้อมของบ้านซึ่งเป็นการดีที่ไม่ต้องออกนอกบ้านโดยทำกิจกรรมอยู่กับบ้านเช่น การจัดบ้าน-สวน ปลูกต้นไม้รอบบ้านทำให้เกิดความร่มรื่น รู้สึกสดชื่นผ่อนคลายทำให้บ้านน่าอยู่ การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในวัยเกษียณต้องการการปรับตัวและการดูแลทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม การใช้เวลาในการทำกิจกรรมที่ชอบ การรักษาความสัมพันธ์ที่ดีทั้งคนในครอบครัว ชุมชนใกล้เคียงและการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ