ผู้สูงอายุต้องการอะไร

สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการ ความต้องการของวัยชราเป็นสิ่งที่ควรได้รับการประคับประคองและให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากสภาพของสังคมไทยการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาอย่างช้านานผู้สูงอายุต้องการอะไรแต่ด้วยความเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพสังคมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดผลกระทบกับการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวทั้งในเรื่องตัวผู้สูงอายุ คนในครอบครัวและผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ถึงอย่างไรผู้สูงอายุก็ต้องได้รับการดูแลตามสมควร การจะดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก่อนอื่นต้องรู้ความต้องการของผู้สูงอายุเสียก่อนว่าผู้สูงอายุมีความต้องการในด้านใดบ้าง ความต้องการของผู้สูงอายุแบ่งออกได้เป็น 3 ด้านใหญ่ๆ คือ

  1. ความต้องการด้านร่างกายของผู้สูงอายุ ความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุผู้สูงอายุทุกคนย่อมต้องการมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บแต่ในความเป็นจริงผู้สูงอายุมักมีสุขภาพไม่ดีและมีโรคประจำตัวที่เกิดจากความเคยชินที่ดำเนินชีวิตประจำวันแบบไม่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมักเป็นปัญหาด้านสุขภาพและโรคประจำตัว ผู้สูงอายุบางคนก็ไม่ตระหนักที่จะดูแลสุขภาพในช่วงที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่พอเข้าสู่วัยสูงอายุทำให้สุขภาพแย่ลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้สูงอายุส่วนมากจึงต้องการการดูแลช่วยเหลือจากผู้ดูแลซึ่งส่วนมากจะเป็นคนในครอบครัวช่วยกันดูแล

ความต้องการของผู้สูงอายุในเรื่องของอาหารการกิน ข้าวของเครื่องใช้ ที่อยู่อาศัยและการดูแลในเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บนั้นต้องทำอย่างถูกสุขลักษณะไม่ว่าจะเป็นอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่เหมาะกับผู้สูงอายุคือสวมใส่สบายตัว ที่อยู่อาศัยที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด อากาศดี ผู้สูงอายุได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอบริเวณที่อยู่อาศัยไม่มีเสียงอึกทึกรบกวนผู้สูงอายุและบริเวณบ้านต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุเพื่อความสะดวกและป้องกันอุบัติเหตุอันอาจเกิดกับผู้สูงอายุได้

สภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่เสื่อมถอยควรได้รับการออกกำลังกายที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ หากผู้สูงอายุไม่มีโรคประจำตัวอะไรที่ร้ายแรงก็ควรหาเวลาออกกำลังกายแบบแอโรบิกเช่น การเดินเร็วอย่างต่อเนื่องประมาณ 30 นาทีต่อวัน แต่หากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวการออกกำลังกายก็ยังมีความสำคัญอยู่โดยผู้สูงอายุควรขอคำแนะนำในเรื่องการออกกำลังกายที่เหมาะสมจากแพทย์

  1. ความต้องการด้านจิตใจของผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงในหลายๆ อย่างของผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน(ต้องเกษียณ) สถานะในครอบครัว(จากผู้ให้ความช่วยเหลือต้องกลายมาเป็นผู้รับความช่วยเหลือ) ทำให้ผู้สูงอายุต้องปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงซึ่งแน่นอนว่าจะเกิดผลกระทบทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนมากล้วนมีประสบการณ์ทำให้สามารถปรับตัวควบคุมจิตใจยอมรับกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่ปรับตัวได้ช้าหรือยึดติดกับความคิดแบบเก่าๆ คือเอาเหตุผลของตัวเองเป็นหลักก็อาจทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาได้ บางคนแสดงอาการออกมาในลักษณะต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่นิสัย ประสบการณ์ การศึกษาและสภาพแวดล้อมของตัวผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมักยึดติดกับตัวเองโดยมีความคิดที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ยอมรับรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิตในวัยสูงอายุ ผู้สูงอายุมักรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่าถูกลดความสำคัญลงไปจากที่เคยเป็นผู้นำในครอบครัวคอยให้ความช่วยเหลือคนในครอบครัวต้องกลับมาเป็นผู้รับความช่วยเหลือจึงเกิดความรู้สึกท้อแท้ น้อยใจ การที่ผู้สูงอายุได้รับความกระทบกระเทือนใจเพียงเล็กน้อยอาจทำให้เกิดความฉุนเฉียวได้มากกว่าปกติเพราะผู้สูงอายุมักรู้สึกว่าคุณค่าของตัวเองลดลงทำให้ไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ ผู้สูงอายุมักให้ความสนใจกับเรื่องที่ตรงกับความรู้สึกหรือความพอใจของตนเองเท่านั้น

  1. ความต้องการทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้สูงอายุ โดยทั่วไปผู้สูงอายุยังคงต้องการเป็นที่เคารพและยกย่องจากคนในครอบครัวและสังคมเหมือนในสมัยที่ยังทำงานอยู่ ต้องการมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องในครอบครัว ต้องการพึ่งพาช่วยเหลือตนเองให้มากและพึ่งพาหรือขอความช่วยเหลือคนอื่นให้น้อยที่สุดโดยไม่ต้องการความสงสารที่แสดงออกแบบตรงๆ เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าที่มีคนอื่นมาแสดงความเมตตาสงสาร

นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังต้องการมีเงินไว้คอยเลี้ยงดูตนเองโดยไม่เป็นภาระให้กับลูกหลาน ผู้สูงอายุบางคนเมื่อลาออกจากงานแล้วก็ยังมีเงินเก็บหรือได้รับเงินก้อนหนึ่งไว้ใช้ในยามแก่เฒ่า บริการจากทางภาครัฐฯ ก็มีส่วนช่วยในเรื่องการรักษาพยาบาลแบบให้เปล่าสำหรับผู้สูงอายุและสวัสดิการอื่นๆ อีกหลายอย่างสำหรับผู้สูงอายุ

สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการคือการดูแลเอาใจใส่ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนไม่ว่าจะเป็นลูก หลาน คนในครอบครัว คนในชุมชม อีกทั้งการดูแลจากภาครัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุเพราะประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ(Aging Society)แล้ว ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องช่วยกัน

การดูแลผู้สูงอายุเป็นหน้าที่ของใคร ? ฟังจากคำตอบจากหลายๆ คน จะเห็นได้ว่าคำตอบที่ได้อาจแตกต่างกันไป ส่วนมากจะตอบว่าเป็นหน้าที่ของคนในครอบครัวแต่ในความเป็นจริงแล้วคำตอบคือเราทุกคนต้องช่วยกันดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นในชุมชนแห่งหนึ่งจะมีผู้สูงอายุจำนวนมากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันไป อย่าลืมว่าขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ(Aging Society)แล้ว ดังนั้นเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้สูงอายุจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นทุกบ้านควรมีความรู้และใส่ใจในเรื่องของ “การดูแลผู้สูงอายุ” เพื่อจะได้มีความรู้และนำไปใช้ทั้งกับผู้สูงอายุในครอบครัวและผู้สูงอายุของบ้านอื่นๆ(ในชุมชน) ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุร่วมกัน นั่นคือ “การดูแลผู้สูงอายุ” เป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชน.

พฤติกรรมผู้สูงอายุเป็นอย่างไร พฤติกรรมของผู้สูงอายุสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทและมักมีความแตกต่างกันไปตามบุคคล สภาพแวดล้อม และประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม มีพฤติกรรมบางอย่างที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุหลายคน เช่น พฤติกรรมด้านสุขภาพได้แก่ การที่ต้องกินยาประจำตัวเนื่องจากผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพที่ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อประคองรักษาความแข็งแรงของร่างกายให้คงอยู่เนื่องจากร่างกายของผู้สูงอายุจะมีการถดถอยหรือเสื่อมลงเนื่องจากอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำแต่จะถี่มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและโรคประจำตัวที่เป็นอยู่

พฤติกรรมทางสังคมของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุควรมีการพบปะเข้าร่วมทำกิจกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุและใข้เวลากับคนในครอบครัวบ้างเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ส่วนพฤติกรรมทางจิตใจของผู้สูงอายุอาจมีการใช้เวลาอยู่เงียบๆ ทำกิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบเช่น วาดภาพ ทำสวนหรือกิจกรรมที่ถนัด ผู้สูงอายุบางคนชอบเล่าประสบการณ์จากอดีตให้ลูกหลานฟัง ส่วนพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการปรับตัวทางเทคโนโลยีได้แก่ การเรียนรู้การใช้สมาร์ทโฟนเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลให้ก้าวทันโลกเพื่อเอาไว้คุยกับคนรอบข้าง พฤติกรรมทางด้านการเงินของผู้สูงอายุจะเกี่ยวกับการวางแผนจัดการเรื่องเงินเพื่อให้มีเงินเพียงพอในการดำรงชีวิตในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ การรู้และเข้าใจในพฤติกรรมด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุจะทำให้การดูแลผู้สูงอายุทำได้อย่างเหมาะสมเพราะความเข้าใจและยอมรับในพฤติกรรมของผู้สูงอายุ

จิตวิทยาคนแก่ ในเรื่องการใช้จิตวิทยากับผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านต่างๆ หลายปัจจัยทั้งในด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคมและด้านอารมณ์ ความเข้าใจในจิตวิทยาผู้สูงอายุจะทำให้สามารถดูแลและให้ความสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม ในด้านร่างกายผู้สูงอายุต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเช่น ความแข็งแรงที่ลดลง สายตาที่พร่ามัว การได้ยินที่เสื่อมลง ผู้สูงอายุที่ปรับตัวให้รับกับสภาพเหล่านี้ไม่ได้จะมีภาวะทางอารมณ์ที่หดหู่ ในด้านสังคมมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้สูงอายุคือ เมื่อต้องเกษียณอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทในครอบครัว ความสำคัญลดน้อยถอยลง การสูญเสียคู่ชีวิตหรือเพื่อนในวัยเดียวกันล้วนส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุด้วยกันทั้งนั้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุอาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว การต้องย้ายที่อยู่ การต้องออกจากงานมาอยู่เฉยๆ สภาพร่างกายที่เสื่อมถอยเคลื่อนไหวไม่สะดวก ความรู้สึกของการไม่เป็นที่ต้องการหรือไม่มีประโยชน์ในสังคม โดยรวมอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจของผู้สูงอายุซึ่งอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลและซึมเศร้าได้

ผู้สูงอายุมักมองหาความหมายและสร้างคุณค่าในชีวิตด้วยการเข้าร่วมกับชุมชนทำกิจกรรมให้ความช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งจะเป็นการเพิ่มความรู้สึกของการมีคุณค่าในตัวเอง นอกจากนี้ผู้สูงอายุอาจเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เพิ่มโอกาส สร้างความท้าทายและเพิ่มความสัมพันธ์ทางสังคมได้ การเข้าใจจิตวิทยาของผู้สูงอายุจะช่วยให้เราสามารถดูแลและให้การสนันสนุนที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุได้ดีขึ้น