ผู้สูงอายุเบื่ออาหารเป็นปัญหายอดฮิต ซึ่งผู้สูงอายุส่วนมากมักจะเบื่ออาหารทำให้กินได้น้อยลง แน่นอนย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างแน่นอน
ปัญหานี้ก่อให้เกิดคำถามขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็น คนแก่เบื่ออาหารกินอะไรดี คนแก่กินข้าวไม่ได้กินอะไรแทน ผู้สูงอายุไม่มีแรงกินอะไรดี หรือปัญหาคนแก่กินข้าวไม่ได้ไม่มีแรงจะทำไงดี ? ความจริงแล้วการเบื่ออาหารไม่ได้เกิดกับเฉพาะผูู้สูงอายุเท่านั้น ในวัยอื่น ๆก็เกิดขึ้นได้แต่การเบื่ออาหารที่เกิดกับวัยอื่น ๆ นั้นส่วนมากจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นซึ่งอาจเกิดจากอารมณ์หรือความเครียด เมื่อเวลาผ่านไปพออารมณ์ดีขึ้นหรือผ่านช่วงเครียด ๆ ไปแล้วก็จะกลับมากินอาหารได้ตามปกติ แต่ในผู้สูงอายุมีความแตกต่างกันโดยทั่วไปสาเหตุการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุอาจเกิดจาก 3 สาเหตุใหญ่ๆ ดังนี้คือ
1. ปัญหาทางกายภาพ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุมักเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพในช่องปากและฟัน อีกทั้งปัญหาที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ประสาทสัมผัสที่เกี่ยวกับการรับรสและกลิ่นที่น้อยลงทำให้รู้สึกว่าอาหารที่เคยชอบเมื่อก่อนแต่ตอนนี้อาหารนั้นไม่ค่อยอร่อยหรือความอร่อยลดน้อยเพราะประสาทสัมผัสที่รับกลิ่นและรสได้น้อยลงจนทำให้เกิดการเบื่ออาหารได้ การกลืน
อาหารทำได้ลำบากซึ่งอาจเกิดจากฟันที่ไม่ค่อยดีทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดพอถึงตอนกลืนทำให้กลืนอาหารได้ลำบากอาจมีอาการเจ็บคอด้วยทำให้ไม่อยากกินอาหารหรือต่อมน้ำลายผลิดน้ำลายออกมาได้น้อยลงทำให้การคลุกเคล้าอาหารทำได้ไม่ดีจึงเจ็บคอเวลาจะกลืนอาหาร นอกจากนี้ระบบทางเดินอาหารของผู้สูงอายุอาจมีความแข็งแรงของอวัยวะภายในลดลง ลำไส้บีบตัวได้น้อยลงและเกิดแก๊สในกระเพาะอาหารทำให้การย่อยอาหารโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่เป็นโปรตีนจะทำให้ย่อยยาก เกิดอาหารท้องอืดแน่นท้องตามมาและรู้สึกไม่สบายท้อง
2. ปัญหาทางด้านจิตใจ มักเกิดกับผู้สูงอายุที่เคยมีหน้าที่การงานดี ๆ มีคนเคารพนับหน้าถือตามาก พอเข้าสู่วัยผู้สูงอายุต้องออกจากงาน มาอยู่เฉย ๆ ทำให้รู้สึกเหมือนคุณค่าของตัวเองลดลง เพื่อนฝูงหรือคนรู้จักในรุ่นเดียวกับก็ทยอยหายหน้าหายตาไป ไม่ว่าจะจากกันไปอย่างชั่วคราว(แยกย้ายไปอยู่ที่อื่น) หรือจากไปอย่างถาวร(เสียชีวิต) อีกทั้งผู้สูงอายุบางคนต้องอยู่บ้านคนเดียวเพราะลูกหลานออกไปทำงาน ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความเหงา หดหู่ เศร้าใจและเกิดผลกระทบทางด้านจิตใจกับผู้สูงอายุได้ เมื่อผู้สูงอายุเกิดความไม่สบายใจก็ย่อมส่งผลกระทบไปถึงเรื่องการกินอย่างแน่นอน
3. ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาบางชนิด ผู้สูงอายุส่วนมากจะมีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาเป็นประจำ ซึ่งยาบางชนิดเช่น ยาปฏิชีวนะหรือผู้สุงอายุที่ต้องทำเคมีบำบัดจะส่งผลทำให้มีอาการเช่น คอแห้ง น้ำลายลดน้อยลงทำให้ไม่อยากกินอาหารหรือเบื่ออาหารนั่นเอง ผู้สูงอายุที่เบื่ออาหารหรือกินได้น้อยลง ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพเนื่องจากเมื่อกินได้น้อย สารอาหารที่ได้รับก็จะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายทำให้น้ำหนักตัวลดลง มวลกล้ามเนื้อลดลง ระบบการไหลเวียนของเลือดก็ลดลง เมื่อกินอาหารได้น้อยสารอาหารบางอย่างที่กระตุ้นทำให้เกิดความอยากกินอาหารก็จะได้รับน้อยลงทำให้ยิ่งเบื่ออาหารมากขึ้น
ทำไมคนแก่ไม่อยากกินข้าว ผู้สูงอายุกินข้าววันละกี่มื้อ โดยปกติไม่ว่าจะเป็นคนวัยหนุ่ม–สาวหรือผู้สูงอายุควรจะกินข้าวให้ครบ 3 มื้อและอาจจะมีอาหารว่างอีก 2 มื้อต่อวัน แต่เนื่องจากสภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการกินอาหารเช่น สุขภาพในช่องปาก(ฟันที่เหลือน้อย) ความสามารถในการรับรสเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลงทำให้กินอาหารไม่รู้สึกว่าอาหารอร่อย อีกทั้งสภาพจิตใจที่หดหู่ในวัยชราทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร การกระตุ้นให้ผู้สูงอายุกินอาหารได้มากขึ้นอาจต้องใช้ตัวช่วยโดยจากการศึกษาพบว่า วิตามินบีรวม(B-complex Vitamins) จะช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ให้เป็นพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ได้จึงทำให้ร่างกายอยากกินอาหารมากขึ้นได้
วิธีแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนอาหารโดยให้เน้นอาหารที่มีวิตามินบีและอาหารที่มีรสเปรี้ยวเพราะวิตามินบีและอาหารที่มีรสเปรี้ยวจะทำให้เกิดการหลั่งของน้ำลายได้มากขึ้นและจะช่วยกระตุ้นให้เกิดความอยากอยากอาหารได้มากขึ้นในผู้สูงอายุตัวอย่างเช่น ในมื้ออาหารอาจมีการเพิ่มสับปะรดชิ้นเล็กๆ รสชาดหวานอมเปรี้ยวของสับปะรดจะกระตุ้นให้ผู้สูงอายุกินอาหารได้มากขึ้น หรือการเลือกอาหารที่มีกลิ่นเครื่องเทศที่หอมๆ จะกระตุ้นให้ผู้สูงอายุกินอาหารได้มากขึ้น
ปรับปรุงเเรื่องสีสันของอาหารให้ดูน่ากิน โดยการปรับเปลี่ยนอาหารให้มีสี แดง เหลือง เขียวและส้ม จะกระตุ้นให้ผู้สูงอายุอยากกินอาหารมากขึ้น อาหารบางอย่างที่ต้องกินขณะสุกใหม่ๆ ร้อนๆ เช่น ข้าวต้ม หรือ ซุป ก็ควรจะเสริฟในขณะที่ร้อนๆ หรือหากเย็นแล้วก็ต้องมีการน้ำไปอุ่นให้ร้อนก่อนเสริฟ
ข้อควรระวังในการปรับรสชาดของอาหาร คือให้ปรับอาหารในเรื่องของสีสัน รสเปรี้ยวและใช้กลิ่นหอมของเครื่องเทศแต่อย่าปรับรสชาดให้เข้มขึ้นโดยการใช้เกลือหรือรสเค็มเพราะอาหารที่มีรสเค็มเป็นอาหารที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากรสเค็มจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในเรื่องของ ความดัน ไต หัวใจ เป็นต้น
การปรับรสชาดอาหารให้น่ากินควรปรับให้อาหารมีความหวานแบบธรรมชาติ เช่น หัวหอมใหญ่ มะเขือเทศ ถั่วลันเตา เป็นตัน โดยนำวัตถุดิบที่เหล่านี้มาทำหรือผสมในอาหารให้ผู้สูงอายุกินจะทำให้รสชาดอาหารมีความกลมกล่อมหรืออร่อยแบบธรรมชาติที่เรียกว่า “รสอูมามิ”
การปรับเนื้อสัมผัสของอาหาร สำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางกายภาพเช่น การบดเคี้ยวไม่ดี ควรปรับโดยเปลี่ยนจากข้าวแข็งเป็นหุงโดยใส่น้ำมากหน่อยหรือ ผสมข้าวหอมมะลิลงไปจะทำให้ข้าวมีความนุ่มขึ้น อาหารพวกแป้งที่เป็นเส้นหมี่ก็ลวกให้นานขึ้นผู้สุงอายุจะได้เคี้ยวและกลืนได้ง่ายๆ ส่วนเนื้อสัตว์ให้เน้นที่เนื้อนิ่ม ๆ เช่น ปลา และต้องระวังเรื่องก้างปลาด้วย(ควรแยกก้างออกก่อนเสริฟ) เนื้อหมูที่เหมาะกับผู้สูงอายุคือเนื้อที่หั่น–สับละเอียด หรือ ตุ๋นจนเปื่อยแล้ว ถ้าจะให้ผู้สูงอายุกินไข่ก็ควรปรับเป็นไข่ตุ๋นหรือไข่คนจะเคี้ยวง่ายกว่า ที่ขาดไม่ได้คือผักและผลไม้ที่จะช่วยเพิ่มวิตามินและเส้นใยอาหารให้ผู้สุงอายุควรเลือกผลไม้ที่หวานน้อย หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ และแกะเมล็ดออกก่อน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ท้องผูก ถ้าอุจจาระแข็งให้แก้ไขด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้น กินอาหารที่มีเส้นใยให้มากขึ้นและเพิ่มจุลินทรีย์ที่ดีในระบบทางเดินอาหารโดยการกินโยเกิร์ตที่ไม่หวาน
พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมในการกินอาหารจะเป็นอีกส่วนที่กระตุ้นให้กินอาหารได้มากขึ้น การที่คนในครอบครัวมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันทั้งลูก ๆ หลาน ๆ จะมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุกินอาหารได้มากขึ้น การแก้ไขปัญหาการเบื่ออาหารในผู้สูงอายุ ควรเริ่มจากการสังเกตและค้นหาให้พบว่า สาเหตุของการเบื่ออาหารของผู้สูงอายุนั้นเกิดจากอะไรกันแน่โดยแยกให้ออกว่าเป็นปัญหาทางด้านกายภาพ จิตใจ ยาบางชนิด หรือ สภาพแวดล้อมของตัวผู้สุงอายุเอง เมื่อทราบถึงสาเหตุแล้วจะทำให้การแก้ไขปัญหาการเบื่ออาหารของผู้สูงอายุทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล.