วิตามินบำรุงร่างกายผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุควรได้รับวิตามินอะไรบ้าง ร่างกายของผู้สูงอายุมีการเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ดังนั้นร่างกายของผู้สูงอายุควรได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอเพื่อจุดประสงค์ในการป้องกันโรคต่างๆและรักษาสุขภาพไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย วิตามินและแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุควรได้รับต้องเป็นวิตามินบำรุงอวัยวะส่วนต่างๆ ที่สำคัญเช่น สมอง ระบบประสาท กระดูก กล้ามเนื้อ กระบวนการเผาผลาญอาหาร ลดการอักเสบ ฯลฯ ตัวอย่างเช่น วิตามินดี(เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ช่วยดูดซึมแคลเซียม ลดความเสี่ยงเรื่องโรคกระดูกพรุน) วิตามินบี12 (ช่วยกระบวนการเผาผลาญของ

วิตามินรวมผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุควรได้รับวิตามินอะไร

ร่างกาย สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องโรคโลหิตจาง) วิตามินบี6 (ช่วยสร้างสื่อระบบประสาทและเผาผลาญโปรตีน) วิตามินซี(ช่วยดูดซึมธาตุเหล็กและสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน) แคลเซียม(รักษาความแข็งแรงของกระดูกและฟัน) แมกนีเซียม(ช่วยการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) โอเมก้า-3(บำรุงสมองและเสริมสร้างการทำงานของสมองและหัวใจ) วิตามินบี9 (บำรุงสมองและสร้างเซลล์สมอง)

วิตามินใดผู้สูงอายุมักขาดบ่อย ปัญหาผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่ครบและขาดวิตามินเนื่องจากร่างกายของผู้สูงอายุมีการดูดซึมอาหารได้น้อยลงและโภชนาการที่ไม่ดีทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบ(ขาดสารอาหาร) วิตามินและแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักจะขาดบ่อยๆ ได้แก่ วิตามินดี วิตามินบี12(ปริมาณกรดที่ลดลงในกระเพาะอาหารส่งผลให้ร่างกายผู้สูงอายุดูดซึมวิตามินบี12 ได้น้อยลงทำให้ระบบประสาทมีปัญหาและเกิดโรคโลหิตจาง) แคลเซียม(ผู้สูงอายุมักเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกไม่แข็งแรง แตก-หักง่าย เพราะขาดแคลเซียม) วิตามินบี6(ขาดวิตามินบี6 ทำให้มีปัญหากับการทำงานของระบบประสาท) แมกนีเซียม(ขาดแมกนีเซียมกล้ามเนื้อและระบบประสาทจะทำงานผิดปกติ)

คนแก่กระดูกเสื่อมกินอะไร ผู้สูงอายุที่กระดูกเสื่อมควรกินอาหารที่บำรุงและเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก ควรกินอาหารที่มีสารอาหารและแร่ธาตุดังนี้ แคลเซียม วิตามินดี แมกนีเซียม วิตามินเค โอเมก้า-3 วิตามินซี สารอาหารและแร่ธาตุเหล่านี้โดยเฉพาะแคลเซียมจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกส่วนวิตามินดีและแมกนีเซียมจะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม วิตามินเคจะช่วยสร้างโปรตีนที่จำเป็นในการสร้างกระดูก โอเมก้า-3 จะลดการอักเสบของร่างกาย วิตามินซีช่วยดูดซึมคอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก การดูแลสุขภาพกระดูกไม่เพียงแค่การรับประทานอาหารที่เหมาะสมเท่านั้นแต่ยังควรออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเบาๆ และการฝึกโยคะ เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มเติมด้วย

วิตามินบํารุงกระดูกมีอะไรบ้าง วิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญในการบำรุงกระดูกมีดังนี้ แคลเซียม วิตามินดี แมกนีเซียม วิตามินเค วิตามินซี ฟอสฟอรัส โอเมก้า-3 สารอาหารและแร่ธาตุเหล่านี้ช่วยเสริมสร้างและบำรุงกระดูก แคลเซียมเป็นส่วนประกอบหลักของกระดูกและฟัน วิตามินดีช่วยดูดซึมแคลเซียมจากอาหารมาเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก แมกนีเซียมช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูก วิตามินเคช่วยในการเสริมสร้างโปรตีนที่จำเป็นในการสร้างกระดูก วิตามินซีช่วยในการสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน โอเมก้า-3 ช่วยลดการอักเสบและเสริมสร้างกระดูก การได้รับวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้จากอาหารที่หลากหลายและสมดุลเป็นสิ่งสำคัญพื่อสุขภาพกระดูกที่ดี

วิตามินรวมสำหรับผู้สูงอายุ การเลือกวิตามินรวมสำหรับผู้สูงอายุควรพิจารณาจากสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุ ลักษณะของวิตามินรวมที่ดีสำหรับผู้สูงอายุควรประกอบไปด้วยสารอาหารที่สำคัญดังนี้(เป็นสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ) วิตามินดี วิตามินบี12 วิตามินบี6 วิตามินซี แคลเซียม แมกนีเซียม วิตามินเค โฟเลต โอเมก้า-3 ซิงค์(สังกะสี)

วิตามินรวมสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นที่นิยม Centrum Silver เป็นวิตามินรวมที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย One A Day 50+ เป็นวิตามินรวมที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการรักษาสุขภาพ Nature Made Multi for Her/His 50+ มีทั้งสูตรสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย มีสารอาหารที่เหมาะสมตามความต้องการของเพศและวัย Garden of Life Multivitamin for Seniors วิตามินรวมจากธรรมชาติ ที่มีสารอาหารครบถ้วนและเสริมด้วยโพรไบโอติกส์เพื่อสุขภาพทางเดินอาหาร การเลือกวิตามินรวมควรพิจารณาจากความต้องการสารอาหารและแร่ธาตุของร่างกายผู้สูงอายุเพื่อให้ได้สารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอสำหรับการรักษาสุขภาพของผู้สูงอายุ

อายุ 60 กินไข่ได้กี่ฟอง การกินไข่มีข้อดีมากมายเนื่องจากไข่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงและมีสารอาหารหลายชนิด เช่น วิตามินบี12 วิตามินดี โคลีน และสารต้านอนุมูลอิสระอย่างลูทีนและซีแซนทีน ผู้สูงอายุ 60 ปีที่มีสุขภาพดี(ไม่มีโรคประจำตัว)สามารถกินไข่ได้วันละ 1 ฟองแต่ควรพิจารณาปริมาณและความถี่ในการบริโภคไข่เพื่อให้เหมาะสมกับสุขภาพโดยรวมโดยคำนึงถึงระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกายด้วยเนื่องจากในไข่แดงมีคลอเรสเตอรอลสูงแต่มีผลการวิจัยใหม่ๆ ออกมาแสดงว่าในคนทั่วไป(ที่มีสุขภาพดี) การกินไข่แดงจะไม่มีผลกระทบต่อระดับคลอเรสเตอรอลในเลือดแต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯฃฯ ควรจำกัดการบริโภคไข่แดงและอาจเน้นการบริโภคไข่ขาวแทนเพราะไข่ขาวไม่มีคอเลสเตอรอลและยังมีโปรตีนคุณภาพสูง อย่างไรก็ตามสำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับปริมาณการบริโภคไข่ที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคนเป็นรายๆ ไป

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *