อาการปวดเข่าในผู้สูงอายุ

คนแก่ปวดเข่าทำไง วิธีแก้อาการปวดเข่าในผู้สูงอายุมีหลายวิธี เริ่มตั้งแต่วิธีง่ายๆ ไปจนถึงท่ายากๆ วิธีแรกคือการลดการใช้งานเข่าและพักผ่อนเพราะอาการปวดเข่าอาจเกิดจากการใช้งานเข่ามากเกินไปประกอบกับสภาพร่างกาย(กระดูกเข่า) มีความแข็งแรงน้อยลง ผู้สูงอายุจึงควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้เข่ารับน้ำหนัก วิธีแก้ปวดเข่าถัดมาคือการประคบเย็นเพื่อใช้ความเย็นช่วยบรรเทาให้อาการปวดเข่าลดน้อยลงโดยใช้เจลเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณเข่าที่ปวดโดยประคบเป็นเวา 15-20 นาที ให้ทำทุกๆ 2-3 ชั่วโมง วิธีแก้ปวดเข่าสำหรับคนแก่ท่าต่อไปคือการกินยาแก้ปวดอาจจะเป็น พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน ทั้งนี้ควรดูด้วยว่ายาแก้ปวดที่จะกินนั้นจะมีปฏิกิริยากับยาโรคประจำตัวที่ผู้สูงอายุกินอยู่เป็นประจำหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้ปรึกษา

ข้อเข่าอักเสบอย่างรุนแรง
การอักเสบบริเวณข้อเข่า

แพทย์ก่อนการกินยาแก้ปวด วิธีต่อมาในการแก้ปวดเข่าคือทำการบริหารร่างกายเป็นวิธีที่ดีและยั่งยืนโดยทำกายบริหารในท่าที่เหมาะกับวัยของผู้สูงอายุเช่น ท่ายืดเหยียดขาที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบเข่าแข็งแรงขึ้น ถ้าผู้สูงอายุมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานก็ควรหาทางควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพราะน้ำหนักตัวที่เกินจะส่งแรงกดทับไปที่เข่าทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้ วิธีบรรเทาอาการปวดเข่าโดยการใช้ไม้เท้าหรืออุปกรณ์ช่วยเดินเพื่อพยุงตัวและลดแรงที่จะกดทับลงไปบริเวณเข่าจะทำให้อาการปวดเข่าดีขึ้นได้ แต่หากอาการปวดเข่าเป็นมาก(รุนแรง) ก็ควรไปทำกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดและฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของเข่า ถ้าอาการปวดเข่ายังไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้วิธีฉีดยาแก้อักเสบหรือต้องผ่าตัดเพื่อรักษาอาการปวดเข่า

ปวดเข่าแบบไหนต้องไปหาหมอ อาการปวดเข่าในผู้สูงอายุจะมีตั้งแต่ปวดเบาๆ ไปจนถึงปวดหนักมาก อาการปวดเข่าแบบที่ต้องไปพบแพทย์ได้แก่ อาการปวดเข่าแบบต่อเนื่องหรือปวดเข่าแบบรุนแรงเป็นเวลานานติดต่อกัน 2-3 วันและได้ใช้วิธีบรรเทาอาการปวดเข่าและพักผ่อนแล้วก็ยังไม่หาย อาการปวดเข่าที่ต้องไปหาหมออีกแบบคือปวดเข่าและมีอาการบวม-แดง อาจเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ หากรู้สึกว่าบริเวณเข่ามีเสียงดังก๊อกแก๊กหรือเกิดอาการเข่าล็อกโดยไม่สามารถงอเข่าหรือเหยียดเข่าได้ตามปกติก็เป็นอาการปวดเข่าอีกแบบที่ต้องไปพบแพทย์ อาการปวดเข่าที่ต้องไปพบแพทย์อีก 2-3 อาการคือ รู้สึกอ่อนแรงที่เข่าจนรับน้ำหนักตัวไม่ได้ อาการปวดเข่าร่วมกับมีไข้สูงและการปวดเข่าที่เกิดจากอุบัติเหตุ เป็นต้น

ปวดเข่าใช้ยาอะไร ยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดเข่ามีหลายชนิด การใช้ยาแก้ปวดเข่าต้องดูที่สาเหตุว่าการปวดเข่าเกิดจากอะไรและระดับความรุนแรงแค่ไหน ตัวอย่างยาแก้ปวดเข่าเช่น พาราเซตามอลน่าจะเป็นตัวเลือกแรกๆ เพราะมีความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ส่วนไอบูโพรเฟนหรือนาโพรเซนเป็นยาแก้ปวดและลดการอักเสบแบบรวดเร็วทันใจแต่ยากลุ่มนี้อาจทำให้เกิดผล

ข้อเข่าเสื่อมมีกี่ระยะ
ปวดเข่าแบบไหนต้องไปหาหมอ

เสียกับไตและกระเพาะได้และอาจมีปฏิกิริยากับยารักษาโรคประจำตัวของผู้สูงอายุจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าอาจใช้เป็นยาทาภายนอกเพื่อนวดบริเวณเข่าได้แก่ ยาที่มีลักษณะเป็นเจลหรือครีมที่มีส่วนผสมของ NSAIDs (ไดโคลฟีแนค) หรือใช้ยาสมุนไพรที่มีสารสกัดจากพืชเช่น มิ้นต์ มาถูนวดทำให้รู้สึกเย็นซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดเข่าได้ แต่หากการปวดเข่าเป็นการปวดเข่าแบบรุนแรงอาจต้องใช้ยาที่ต้องมีใบสั่งแทพย์เช่น ยาคอร์ติโคสเตรียรอยด์เพื่อฉีดเข้าสู่หัวเข่าที่ปวดแบบรุนแรงเพราะเกิดการอักเสบ ในส่วนของการใช้อาหารเสริมและสมุนไพรอาจใช้สารสกัดจากขมิ้นชั้นซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบและบรรเทาอาการปวดเข่าได้เช่นกันอย่างไรก็ตามสำหรับวิธีบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้สูงอายุก่อนใช้ยาชนิดใดควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุ

โรคข้อเข่าเสื่อมมีกี่ระยะ การแบ่งระยะของโรคข้อเข่าเสื่อมโดยใช้ระดับความรุนแรงของการเสื่อมเป็นตัวพิจารณาแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะคือ 1. Early Stage 2. Mild Stage 3. Moderate Stage 4. Severe Stage โดยเริ่มจากระดับความรุนแรงจากน้อยไปหามาก ในระยะที่ 1 ข้อเข่ายังไม่เสื่อมมากแต่เริ่มมีอาการเจ็บปวดเล็กน้อยเมื่อมีการใช้งานเข่ามากเกินไป อาการปวดจะเป็นๆ หายๆ และจะบรรเทาได้ด้วยการพักผ่อนหรือกินยาแก้อักเสบ ในระยะที่ 2 เริ่มมีการเสื่อมของกระดูกอ่อนมากขึ้น ผู้ป่วยจะปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว หลังตื่นนอนหรือนั่งอยู่ในท่าเดียวนานๆ อาจมีอาการตึงในข้อเข่า ในระยะที่ 3 การเสื่อมของกระดูกอ่อนจะมากขึ้นและอาการปวดจะรุนแรงขึ้น การทำกิจวัตรประจำวันทำได้ลำบากขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวที่จำกัดของข้อเข่า ในระยะที่ 4 ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตลอดเวลาเพราะกระดูกอ่อนเสื่อมหมดแล้วทำให้กระดูกข้อเข่าเริ่มเสียดสีกันโดยตรง ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะเคลื่อนไหวหรือพักผ่อนผู้ป่วยก็จะรู้สึกปวดเข่าตลอดเวลาอาจมีการบวมที่รุนแรงบริเวณข้อเข่า การเคลื่อนไหวของข้อเข่าจะถูกจำกัดอย่างมากทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

โรคข้อเข่าเสื่อมห้ามกินอะไรบ้าง สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมควรใช้ความระมัดระวังในการกินอาหารเพราะอาหารบางชนิดจะทำให้เกิดการอักเสบของข้อเข่าเพิ่มขึ้น อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือกินอย่างระมัดระวังได้แก่ อาหารที่มีไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวสูง(ไก่ทอด เฟรนซ์ฟรายส์ คุกกี้ เค้ก โดนัท เนย ชีส)เนื่องจากอาหารเหล่านี้สามารถกระตุ้นการอักเสบในร่างกายและอาจทำให้อาการปวดข้อเป็นมากขึ้นได้ อาหารที่มีน้ำตาลสูง( น้ำอัดลม ขนมปังขาว เค้ก คุ้กกี้) เพราะน้ำตาลจะไปเพิ่มระดับสารเคมีที่กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบเพิ่มขึ้น อาหารที่มีโซเดียมสูง(อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผักดอง ชนมขบเคี้ยว) เพราะโซเดียมจะทำให้ข้อบวมมากขึ้นจากการที่ร่างกายเก็บกักน้ำมากขึ้น อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-6 สูง(น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย) กรดโอเมก้า-6 จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบมากขึ้นแต่ควรเลือกกินอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 แทน(ปลาแซลมอล ปลาแมคเคอเรล เมล็ดเฟล็กซ์) การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมสามารถช่วยบรรเทาและลดการอักเสบของโรคข้อเข่าเสื่อมได้

ข้อเข่าเสื่อมควรนอนท่าไหน ท่านอนที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมรู้สึกสบายและลดอาการปวดเข่าได้ ท่านอนที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมได้แก่ ท่านอนหงายโดยใช้หมอนหนุนบริเวณใต้เข่าทั้ง 2 ข้าง การนอนท่านี้จะช่วยกระจายน้ำหนักและลดแรงกดที่ข้อเข่าได้ดี ท่านอนตะแคงโดยวางหมอนข้างไว้ที่ระหว่างเข่า ทั้งนี้ควรนอนตะแคงไปข้างที่ไม่เจ็บเพื่อลดแรงกดที่ข้อเข่า ท่านอนกึ่งนั่งโดยยกส่วนบนของร่างกายขึ้นเล็กน้อยอาจใช้หมอนหนุนด้านหลังและบริเวณใต้เข่าเพื่อลดแรงที่จะกดลงบนหัวเข่า ทั้งนี้ควรเลือกใช้ที่นอนและหมอนที่มีความแน่นพอที่จะรับน้ำหนักตัวและหัวเข่าได้โดยไม่ยุบตัวมากนัก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *