ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้การดูแลผู้สูงอายุเป็นไปได้ด้วยดี ความสูงวัยเป็นภาวะที่ทุกคนจะต้องเจอด้วยกันทุกคน การเข้าใจในธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุจะทำให้ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกับผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอันจะนำความสุขมาสู่สมาชิกทุกคนในครอบครัวด้วยเช่นกัน
จุดประสงค์การดูแลผู้สูงอายุคือ การดูแลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอิสระเพียงพอที่จะทำอะไรตามความต้องการได้แม้ว่าร่างกายของผู้สูงอายุจะมีโรคประจำตัวและมีความเสื่อมถอยอยู่ก็ตาม การดูแลผู้สูงอายุควรปรับการดูแลให้มีความยืดหยุ่นพยายามให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง ทำกิจวัตรและสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองให้มากที่สุดและพึ่งพาคนอื่นให้น้อยที่สุด
การช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุดนั่นคือสิ่งที่หากทำได้จะทำให้ผู้สูงอายุและลูกหลานที่อยู่ด้วยมีความสุขไปโดยอัตโนมัติเพราะความต้องการของผู้สูงอายุย่อมไม่ต้องการเป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ต้องมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ความเสื่อมถอยของสภาพร่างกายนั้นเป็นธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แต่หากมีการเตรียมพร้อมรับมือที่ดีก็จะช่วยให้ความเป็นอยู่และความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและคนในครอบครัวเป็นไปอย่างราบรื่นอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขตามสมควร หากขาดการเตรียมพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุที่ดีอีกทั้งประกอบกับปัจจัยต่างๆ ทั้งตัวผู้สูงอายุเอง(มีโรคประจำตัว) และสภาพแวดล้อมรอบตัวอาจทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุได้ สิ่งที่ผู้สูงอายุกังวลคือการต้องกลายเป็นภาระของลูกหลานที่ต้องดูแลโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวจนต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ความใฝ่ฝันอันสูงสุดของผู้สูงอายุคือการได้อยู่กับลูกหลานอย่างมีความสุขโดยไม่เป็นภาระให้กับลูกหลาน ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่ดีตามวัยสามารถช่วยเหลือและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองได้
ธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยสูงอายุของแต่ละคนจะช้าเร็วต่างกันขึ้นอยู่กับพันธุกรรม สภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ด้วยอายุที่มากขึ้นผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ 3 ด้านคือ 1. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนเนื่องจากระบบต่างๆ ของร่างกายจะเสื่อมสภาพและทำงานได้น้อยลงการดูแลผู้สูงอายุอาจต้องมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ ผู้สูงอายุส่วนมากมักประสบกับปัญหาวิตกกังวล ซึมเศร้า รู้สึกสิ้นหวังและต้องการการสร้างกำลังใจผู้สูงอายุ ปัญหาเหล่านี้อาจถูกละเลยจากคนในครอบครัวเพราะความเข้าใจว่าผู้สูงอายุต้องการเรียกร้องความสนใจ 3. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ผู้สูงอายุจะรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าที่น้อยลงเพราะโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมที่น้อยลง ขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสังคมทำให้ผู้สูงอายุถูกแยกตัวออกจากสังคม
แนวทางการดูแลผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้สูงอายุทั้ง 3 ด้านสามารถดูแลจัดการในแต่ละด้านได้โดยตัวผู้สูงอายุเอง คนในครอบครัว ผู้ดูแลผู้สูงอายุและคนที่อยู่ในชุมชน การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุหมายถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุคงความสามารถทางด้านร่างกาย การทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยดูแลทางด้านอาหารการกิน การออกกำลังกาย การสร้างความผ่อนคลาย(ไม่เครียด)และป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุแต่หากผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวหรือความพิการก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ส่วนการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านจิตใจย่อมต้องการการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องเข้าใจ คอยช่วยเหลือและหาวิธีสร้างกำลังใจผู้สูงอายุ บางครั้งอาจต้องใช้วิธีรักษาด้วยยาหรือทำการบำบัดเฉพาะ สำหรับบทบาทผู้สูงอายุต่อสังคมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงบทบาททางสังคมของผู้สูงอายุควรได้รับดูแลโดยให้โอกาสผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจภายในครอบครัว กิจกรรมผู้สูงอายุมีอะไรบ้างก็ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมทางสังคมที่ผู้สูงอายุสนใจ แนวทางการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตัวผู้สูงอายุเองกับครอบครัวและชุมชน
วิธีการดูแลผู้สูงอายุ บทบาทสำคัญอยู่ที่ครอบครัวกับผู้สูงอายุโดยครอบครัวต้องตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุต้องมีเจตคติที่ดีต่อความสูงวัยอันจะทำให้เกิดความเข้าใจ ความเอื้ออาทรอย่างแท้จริงในการดูแลผู้สูงอายุ หากจะเปรียบเทียบความสำคัญระหว่างความรู้ในการปฏิบัติดูแลผู้สูงอายุกับการส่งเสริมให้คนในครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ความสำคัญจะอยู่ที่การสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับคนในครอบครัวมากกว่า
แนวทางการดูแลผู้สูงอายุอาจมีแนวทางที่แตกต่างกันไปตามความต้องการซึ่งแต่ละแนวทางก็มีข้อดีข้อเสียและข้อจำกัดที่แตกต่างกันรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุเช่น การดูแลผู้สูงอายุด้วยตัวผู้สูงอายุเองคือการที่ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชิวิตได้ด้วยตนเองโดยมีการพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด ผู้สูงอายุมีความพอใจกับความสุขตามอัตภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้สูงอายุมีความสามารถทำตัวให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว สังคมเพื่อสร้างความภูมิใจในคำยกย่องจากสังคมโดยรวมการดูแลผู้สูงอายุด้วยคนในครอบครัวเป็นการดูแลผู้สูงอายุทั้งในเรื่องของปัจจัยสี่ การให้อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและการดูแลรักษาสุขภาพทั้งการเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจ การดูแลผู้สูงอายุโดยสถาบันต่างๆ เช่น สถานสงเคราะห์ สถานพยาบาลหรือสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุโดยเฉพาะเป็นต้น รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน เป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกเพื่อร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาบริการต่างๆ ให้แก่สมาชิกในชุมชนระหว่างตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว คนในชุมชนและสถาบันทางสังคมต่างๆ ที่มีลักษณะการบริการที่แตกต่างกัน
การดูแลผู้สูงอายุมีกี่ด้าน การดูแลผู้สูงอายุจะเป็นการดูแลที่ครอบคลุมในหลายๆ ด้านของการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การดูแลผู้สูงอายุประกอบด้วยการดูแลในด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเงินและด้านการดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องการคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย การดูแลผู้สูงอายุในแต่ละด้านก็จะมีหัวข้อย่อยแยกออกได้อีกหลายประการ สำหรับในด้านสุดท้าย(ด้านการดูแลผู้ป่วยที่เป็นสูงอายุ) จำเป็นต้องมีผู้ดูแลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานนี้
คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง คุณสมบัติของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ดีควรรวมถึงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทักษะที่จำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีดังนี้คือ ต้องมีความอดทนและมีความเข้าใจผู้สูงอายุ มีทักษะการสื่อสารที่ดีรู้จักฟังเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการ ผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องมีความรับผิดขอบและซื่อสัตย์ มีความรู้ในทักษะทางการแพทย์เบื้องต้น มีความสามารถในการจัดการเวลาได้อย่างเหมาะสม มีร่างกายที่แข็งแรงพอที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมต่างๆ ประจำวันได้เช่น การเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยหรือการทำกายภาพบำบัด เป็นต้น มีความเมตตาและเห็นอกเห็นใจ(เข้าใจความรู้สึกของผู้สูงอายุ)และมีความตั้งใจในการดูแลผู้สูงอายุให้มีความสุขตามอัตภาพ นอกจากนี้ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมีความรู้ทางโภชนาการ มีทักษะในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธภาพและสนใจในการหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานที่ทำเพื่อปรับปรุงการทำงาน(ดูแลผู้สูงอายุ) ให้ดียิ่งขึ้น การมีคุณสมบัติเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถให้การดูแลที่ดีที่สุดและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ