โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ

เกณฑ์วัดค่าความดันโลหิตในผู้สูงอายุ โดยปกติแล้วค่าความดันมาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินว่าผู้สูงอายุคนใดจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือไม่นั้นใช้ค่าความดันมาตรฐานตัวเดียวกับค่าความดันโลหิตปกติในวัยผู้ใหญ่นั่นคือ 140/90 ม.ม.ปรอท หากผู้สูงอายุท่านใดมีค่าความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 ม.ม.ปรอทเป็นต้นไปจะเข้าข่ายเป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งจะแบ่งย่อยออกเป็นระยะต่างๆได้อีก

ช่วงระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่ต้องพยายามควบคุมขึ้นอยู่กับช่วงอายุของผู้สูงอายุด้วย กล่าวคือเป้าหมายของการควบคุมระดับความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีอายุในช่วง 60-79 ปี ควรน้อยกว่าหรือเท่ากับ 140/90 ม.ม.ปรอท ส่วนผู้สูงอายุที่อยู่ในช่วง 80 ปีขึ้นไปควรควบคุมระดับความดันโลหิตโดยมีเป้าหมายอยู่ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 150/90 ม.ม.ปรอท

โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุนั้นมีปัจจัยเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติจากความสูงวัยอันทำให้ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเนื่องจากไขมันที่อุดตันอยู่ใน

ความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
ความดันสูงในคนสูงวัย

เส้นเลือดทำให้หลอดเลือดแดงที่ใช้งานมานานเกิดการตีบแข็งไม่มีความยืดหยุ่นเหมือนก่อน ผนังหลอดเลือดแดงจะหนาตัวมากขึ้นและแข็งตัวอีกทั้งการตอบสนองต่อระบบประสาทของหลอดเลือดไม่ดีเหมือนเมื่อตอนที่อายุยังน้อยทำให้หลอดเลือดสูญมีความสามารถในการหดตัวและคลายตัวลดลง เมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดผ่านหลอดเลือดทำให้เกิดความต้านทานส่วนปลายมากขึ้น หัวใจจึงต้องทำงานหนักกว่าปกติในการสูบฉีดเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ปัจจัยที่สำคัญเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุคือพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องที่ได้รับการปฏิบัติต่อเนื่องมานานไม่ว่าจะเป็นการติดกินอาหารรสเค็ม เครื่องปรุงรสต่างๆ การกินอาหารประเภทไขมันจนเป็นเรื่องปกติ อีกทั้งการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมไปถึงความเครียดและการมีน้ำหนักเกิน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่มีผลทำให้ปริมาณเลือดที่ส่งออกจากหัวใจมีจำนวนที่มากขึ้นและเมื่อหลอดเลือดที่เป็นเส้นทางเดินของเลือดเกิดการตีบหรืออุดตันทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงกับผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้การผิดปกติของร่างกายอื่นๆ และโรคเรื้อรังก็เป็นสาเหตุทำให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้นซึ่งทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง

โรคความดันโลหิตสูงเกิดผลกระทบต่อผู้สูงอายุอย่างไร ที่เห็นได้ชัดเจนคือผลกระทบทางร่างกายคือมีความเสี่ยงที่จะเกิดตะกรันในหลอดเลือดแดงและเมื่อตะกรันนั้นแตกทำให้เกิดการเซาะผนังหลอดเลือดแดงทำให้มีเลือดออกทีอวัยวะส่วนนั้นๆ ตะกรันในหลอดเลือดทำให้เกิดเส้นทางเดินในหลอดเลือดเกิดการตีบตันทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอกจนถึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทำให้หัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายแบบเฉียบพลันได้ ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ในหลายส่วนของร่างกายผู้สูงอายุเช่น ภาวะแทรกซ้อนที่ไต ภาวะแทรกซ้อนที่ระบบประสาท ภาวะแทรกซ้อนที่จอประสาทตาเป็นต้น

จากผลกระทบทางด้านร่างกายที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหากไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมตามช่วงอายุ สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือการเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ ที่รุนแรงอันอาจจะทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพและเสียชีวิตได้

ผู้สูงอายุควรมีความดันเท่าไร เป็นคำถามที่พบได้บ่อยหรือ อายุ 50 ควรมีความดันเท่าไร อายุ 60 ความดันปกติเท่าไร ค่าความดันโลหิตปกติในแต่ละวัยจะไม่เท่ากันโดยเฉพาะในวัยผู้สูงอายุ แม้จะมีอายุเท่ากันแต่ก็ต้องเพิ่มการพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นความเสี่ยงจากโรคประจำตัว ค่าความดันโลหิตที่ยอมรับได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ไม่ควรสูงเกิน 150/90 มิลลิเมตรปรอท สำหรับคนที่อายุต่ำกว่า 60 ปีหรือคนที่มีโรคประจำตัวควรมีค่าความดันโลหิตไม่เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท