น้ำหนักที่ควรจะเป็นของผู้สูงอายุ

น้ำหนักเฉลี่ยของผู้สูงอายุควรอยู่ที่เท่าไหร่ ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไทยคือเรื่องน้ำหนักกับส่วนสูงที่ไม่มีความสมส่วนกัน ความสมส่วนระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดเพราะถ้าร่างกายของผู้สูงอายุมีความสมส่วนจะทำให้เกิดความสะดวกในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตโดยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างสะดวกจะเดินไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคนช่วย ร่างกายที่มีความสมส่วนยังมีประโยชน์ในเรื่องการควบคุมโรคประจำตัวและป้องกัน

ผู้สูงอายุน้ำหนักเท่าไหร่ดี
น้ำหนักมาตรฐานของผู้สูงอายุ

การเกิดโรคแทรกซ้อนในอนาคตอีกด้วย ผู้สูงอายุส่วนมากมักจะมีโรคประจำตัวกันอย่างน้อย 1-2 โรคไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน ไขมัน ความดัน โรคกระดูกเสื่อม ฯลฯ ซึ่งโรคเหล่านี้หากควบคุมโรคไม่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักตัวไม่สมส่วนคือไม่ว่าจะน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานหรือน้ำหนักเกินมาตรฐานจะทำให้เกิดปัญหาในการดูแลสุขภาพและควบคุมอาการของโรคประจำตัวทำให้ควบคุมได้ยากจนตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวนั่นเอง

BMI ในผู้สูงอายุ ค่า BMI(Body Mass Index) หรือค่าดัชนีมวลกายคือค่าที่ใช้วัดว่าผู้สูงอายุมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ซึ่งค่า BMI ของคนไทยกับชาวต่างชาติ(เอเชียกับยุโรป) จะแตกต่างกันไปเนื่องจากโครงสร้างของร่างกายที่แตกต่างกัน ค่า BMI ที่เป็นมาตรฐานของคนไทยจะอยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9 ถ้าเอาค่าน้ำหนักตัวกับส่วนสูงของผู้สูงอายุมีคำนวนหาค่าดัชนีมวลกาย(BMI) แล้วตกอยู่ในช่วงนี้ก็สบายใจได้ว่าน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะส่งผลให้การดูแลสุขภาพ การควบคุมโรคประจำตัวจะทำได้ดีกว่าและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้น้อย แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มีค่า BMI น้อยหรือมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานนี้ก็ต้องพยายามปรับตัวลดน้ำหนักหรือเพิ่มน้ำหนักก็แล้วแต่กรณีไป

วิธีลดน้ำหนักผู้สูงอายุ หลักในการลดปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย ในกรณีที่ค่า BMI มากกว่าเกณฑ์มาตรฐานคืออ้วนเกินไปก็จำเป็นต้องหาวิธีเพื่อลดน้ำหนักให้กลับมาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานเพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพที่จะทำได้ดีกว่าและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ ได้ การลดน้ำหนักของผู้สูงอายุทำได้โดยการควบคุมอาหารควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเพื่อทำให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือร่างกายอยู่ในภาวะที่สมส่วน การลดน้ำหนักโดยหลักใหญ่ๆ จะมี 2 ข้อคือการนำเข้า(กิน) กับการเอาออก(ออกกำลังกาย) สำหรับผู้สูงอายุที่น้ำหนักเกินจะเกิดจากการกิน(นำเข้า) มากกว่าการออกกำลังกาย(เอาออก) ผู้สูงอายุที่ต้องการลดน้ำหนักก็ต้องปรับพฤติกรรมโดยต้องเอาออกให้มากกว่าการนำเข้าก็คือเพิ่มการออกกำลังกายและลดการกินให้น้อยลง

วิธีเพิ่มน้ำหนักผู้สูงอายุ สำหรับผู้สูงอายุที่มีค่า BMI ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานก็คือผอมไปจึงต้องหาวิธีเพิ่มน้ำหนักให้ร่างกายกลับมาสมส่วนโดยการยึดหลักคล้ายๆ กับการลดน้ำหนักแต่ทำในทางตรงกันข้ามนั่นคือ ผู้สูงอายุที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักต้องพยายามปรับพฤติกรรมโดยการนำเข้า(กิน) ให้มากกว่าการเอาออก(ออกกำลังกาย) คือกินให้มากขึ้นแต่ไม่ใช่ว่ากินทุกอย่างที่ขวางหน้าเดี๋ยวจะกู่ไม่กลับ โดยให้เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ซึ่งการเพิ่มน้ำหนักผู้สูงอายุน่าจะทำได้ง่ายกว่าการลดน้ำหนัก

ข้อสังเกตุในการเพิ่ม-ลดน้ำหนักสำหรับผู้สูงอายุ คือความแตกต่างของสภาพร่างกายระหว่างวัยทำงานกับวัยสูงอายุ บางคนก็บอกว่า กินเท่าเดิม(เหมือนตอนที่อยู่ในวัยทำงาน) แต่ทำไมน้ำหนักจึงเกินเกณฑ์มาตรฐาน(อ้วน) สาเหตุเกิดจากสภาพร่างกายของแต่ละวัยที่เปลี่ยนแปลงไป ในความเป็นจริงก็ตือคนที่อยู่ในวัยทำงานต้องเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ จะมีมากกว่าคนในวัยสูงอายุที่พอเกษียณแล้วก็อยู่กับบ้าน ไม่ค่อยมีกิจกรรมที่ต้องทำ ดังนั้นเมื่อกินเท่ากันแต่ในวัยสูงอายุใช้พลังงาน(นำออก) น้อยกว่า จึงทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน(อ้วน) ได้