โรคสมองเสื่อมอาการเบื้องต้น ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมักทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้สูงอายุซึ่งผู้ดูแลอาจจะต้องพยายามทำใจกับการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ได้ ความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้สูงอายุเช่น ปกติเคยพูดเก่งเปลี่ยนเป็นกลายเป็นคนพูดน้อยหรือเปลี่ยนจากคนที่พูดน้อยเป็นคนพูดเยอะนอกจากนี้ผู้สูงอายุอาจมีพฤติกรรมที่แปลกไปจากปกติก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้อีกคือการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพบางคนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพมากหรือน้อยซึ่งไม่สามารถระบุได้แน่นอน อีกประการหนึ่งที่ต้องทำใจคือผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะไม่มีทางที่จะกลับไปเป็นปกติได้ สิ่งที่จะทำได้คือการพยายามประคับประคองอาการของโรคให้เกิดขึ้นช้าที่สุดหรือพูดง่ายๆ ว่ามีแต่ทรงกับทรุดเท่านั้น คนที่จะดูแลผู้สูงอายุได้ดีที่สุดก็คือคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดซึ่งอาจจะเป็นลูกหลานหรือคนในครอบครัวก็ได้
โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมีกี่ระยะ ระยะของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุมี 3 ระยะ โดยเริ่มจากระยะแรกผู้สูงอายุจะสูญเสียความจำเพียงเล็กน้อยเช่น ลืมข้าวของ จดจำเรื่องต่างๆ ในปัจจุบันไม่ได้ ระยะต่อมาผู้สูงอายุจะจำชื่อคนรอบข้างไม่ได้ จดจำสถานที่ที่เคยไปมาไม่ได้ มีความสับสนทั้งในเรื่องของสถานที่ วัน เวลา หรือแม้กระทั่งลืมประวัติของตัวเอง ในระยะสุดท้ายผู้สูงอายุจะไม่มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เข้ามาไม่สามารถจดจำอะไรได้เลย อาการที่พบได้ในผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมระดับไม่รุนแรงได้แก่ ผู้สูงอายุจะพูดน้อยลง การเรียกชื่อสิ่งของไม่ถูกต้อง ความเข้าใจภาษาลดลง พูดย้ำกับตัวเอง ลืมวิธีใช้สิ่งของรอบตัว สับสนเรื่อง วัน เวลา สถานที่ ไม่ทราบว่าตัวเองมาอยู่ที่นี่ได้ยังไง สมองเสื่อมในผู้สูงอายุเกิดจากอะไร ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุสาเหตุเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุที่ทำให้สมองเกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองจนสมองทำหน้าที่ได้ลดลง เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นการเปลี่ยนแปลงในสมองจะเพิ่มมากขึ้นทำให้อาการสมองเสื่อมเป็นมากขึ้นจากอาการหลงลืมเล็กน้อยจนไปสู่การจดจำอะไรไม่ได้และไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว
อาการโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ วิธีสังเกตว่าผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อมคือผู้สูงอายุจะมีอาการขี้ลืม จำอะไรไม่ค่อยได้ สิ่งที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรทำคือไม่แสดงอาการรำคาญแต่ให้พยายามเข้าใจผู้สูงอายุและพยายามสื่อสารพูดกับผู้สูงอายุดีๆ อย่าใช้อารมณ์ ต้องสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเพราะบางครั้งปัญหาบางอย่างเช่นการหาทางกลับบ้านไม่ถูก หลงทางหรือลืมทางกลับบ้านอาจทำให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงตามมาได้หากผู้ดูแลผู้สูงอายุละเลยตรงจุดนี้ บางครั้งผู้สูงอายุอาจมีอาการหลงผิดเช่นผู้สูงอายุเข้าใจว่าจะมีคนมาทำร้ายหรือขโมยข้าวของ เป็นต้น และบางครั้งผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจมีอาการประสาทหลอนเช่นคิดว่ามีคนปีนเข้ามาในบ้านเป็นต้น
โรคสมองเสื่อมอาการเบื้องต้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่มากับภาวะสมองเสื่อมอาจมีลักษณะดังนี้เช่น บางครั้งนั่งดูทีวีกันตามปกติแต่อยู่ๆ ผู้สูงอายุก็ร้องไห้ขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุหรือในทางกลับกันผู้สูงอายุอาจหัวเราะขึ้นมาโดยไม่ทราบสาเหตุเช่นกัน อีกอาการของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุคือการจำวัน-เวลา-สถานที่ ไม่ได้ เช่น ผู้สูงอายุจะถามว่า “วันนี้วันที่เท่าไหร่” แล้วก็จะถามซ้ำอยู่บ่อยๆ บางครั้งผู้สูงอายุก็เดินไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจุดหมาย พอถูกถามว่าจะเดินไปไหนก็ตอบไม่ได้ นอกจากนี้อาจมีพฤติกรรมชอบเก็บสะสมของซึ่งปกติไม่เคยทำมาก่อนแต่เมื่อเกิดภาวะสมองเสื่อมก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นชอบเก็บสะสมสิ่งของต่างๆ
การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ผู้ดูแลต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมที่ผิดแปลกไปจากเดิมของผู้สูงอายุเป็นเพราะผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อม(Dementia) ผู้สูงอายุไม่ได้แกล้งทำบางครั้งการที่ผู้สูงอายุถามคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ บ่อยๆ เช่น “วันนี้วันอะไร” หรือ”วันนี้วันที่เท่าไหร่” ที่สำหรับคนปกติแล้วจะรู้สึกเหมือนกับเป็นการแกล้งถาม วิธีการดูแลผู้สูงอายุนั้นไม่มีวิธีที่แน่นอนหรือตายตัว วันนี้เราอาจใช้วิธีการแบบนี้ดูแลผู้สูงอายุแล้วได้ผลแต่ในวันต่อไปวิธีการที่เคยใช้ได้ผลอาจจะใช้ไม่ได้แล้วก็ได้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเพราะความเสื่อมถอยที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกายที่พออายุมากขึ้นก็เคลื่อนไหวช้าลง การคิดอ่าน เรียนรู้ต่างๆ จะช้าลงไปด้วย ยิ่งผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อมเข้ามาร่วมด้วยทำให้แม้แต่การจดจำสิ่งเดิมๆ ที่เคยทำได้ก็แย่พออยู่แล้วดังนั้นไม่ต้องพูดถึงการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เลยอีกทั้งการปรับตัวของผู้สูงอายุจะปรับตัวได้ช้ามากด้วย บางครั้งผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ไม่มีความเข้าใจสภาพตามธรรมชาติของผู้สูงอายุ(มีภาวะสมองเสื่อมด้วย) ทำให้เกิดความหงุดหงิดอารมณ์เสียเพราะไม่เข้าใจว่า ทำไมผู้สูงอายุจึงทำเรื่องง่ายๆไม่ได้เป็นต้น
การดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม สิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรตระหนักคือ ผู้สูงอายุก็เป็นคนที่มีความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจเหมือนคนปกติทั่วไปเพียงแต่อาจจะมีอาการหลงลืม พูดไม่รู้เรื่องบ้างซึ่งเป็นเพราะผลจากภาวะสมองเสื่อมที่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามวัยที่เสื่อมถอยลงตามธรรมชาติ ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรมีจิตใจที่เมตตาและเอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ มีความเข้าใจสภาพตามธรรมชาติของผู้สูงอายุ คนที่จะดูแลผู้สูงอายุได้ดีที่สุดก็คือคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด ความเอาใจใส่พยายามสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของผู้สูงอายุซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางบวกและทางลบ แต่หากดูแลผู้สูงอายุด้วยความใส่ใจจะทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขกายสบายใจและส่งผลดีถึงสมาชิกทุกคนในครอบครัวด้วย