ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทย

ปัญหาสุขภาพวัยผู้สูงอายุมักเกิดจากปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่เคยทำจนกลายเป็นนิสัยติดตัวมาตั้งแต่อยู่ในช่วงวัยกลางคน เนื่องจากช่วงวัยกลางคนหรือแนวทางการดูแลผู้สูงอายุวัยที่กำลังทำงานนั้นมักจะคิดแต่เรื่องการสร้างฐานะหาเงินให้ได้มากๆ จนละเลยที่จะดูแลตัวเองหรือไม่ได้คิดถึงเรื่องสุขภาพร่างกายที่ถูกใช้งานอย่างหนักเกินพอดีจนทำให้เกิดการสะสมหรือก่อตัวของโรคเรื้องรังต่างๆ ตัวอย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูงที่มักเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอันตรายต่างๆ ที่เกิดจากการไม่ควบคุมดูแลระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจนเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงขึ้นมาซึ่งการสะสมอาการของโรคนั้นไม่ใช่จะเกิดขึ้นภายในเวลาอันสั้นแต่ต้องใช้ระยะเวลานานหลายปี หากมีการดูแลสุขภาพในช่วงวัยทำงานจะทำให้ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพจะเกิดขึ้นน้อยเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะไม่มีหรือได้รับผลกระทบจากโรคเรื้อรังน้อยลง

โรคที่พบในผู้สูงอายุไทย โรคผู้สูงอายุที่เป็นกันมากและพบได้บ่อยเนื่องจากปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในวัยทำงานที่สะสมต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดโรคเรื้อรังขึ้นมาเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง ฯลฯ ผลกระทบต่อร่างกายของผู้สูงอายุจากปัญหาสุขภาพในวัยสูงอายุจะทำให้คุณภาพชีวิตด้อยลง ป่วยเป็นอัมพาต พิการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงหากขาดการดูแลสุขภาพที่ดีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเกิดโรคต่างๆ ตามมานอกจากจะทำให้เสียสุขภาพและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาแล้วเนื่องจากโรคเหล่านี้มักเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายสิ่งที่ทำได้ก็เพียงประคับประคองไมให้อาการของโรคเรื้อรังหนักมากขึ้นคือต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคเรื้อรังไปจนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายซึ่งผู้สูงอายุบางคนที่ปรับตัวไม่ได้ก็เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้

การป้องกันโรคในผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วหากจะพูดว่าเป็นแก้ปัญหาที่ปลายเหตุก็ได้เพราะหากในวัยทำงานได้สร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีให้ติดตัวเป็นนิสัยพอก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุก็จะมีสุขภาพที่ดีไปตามวัยคือเป็นแค่โรคชราที่เกิดจากอายุที่ล่วงเลยไปตามวัยไม่มีโรคเรื้อรังเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุแล้วและมีโรคเรื้อรังเกิดขึ้นจึงต้องมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุเพื่อประคับประคองสุขภาพอย่าให้แย่ลงกว่าที่เป็นอยู่ นอกจากนี้ยังต้องมีการส่งเสริมสุขภาพวัยผู้สูงอายุก็ด้วยจุดประสงค์เดียวกันนั่นเอง

การปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อประคองอาการและลดความรุนแรงของโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่แล้วและเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่ เรื่องพฤติกรรมการกินอาหารเป็นสิ่งสำคัญอับดับต้นๆ เนื่องจากการกินอาหารที่เหมาะสม ถูกต้องครบห้าหมู่และได้สัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไข พฤติกรรมการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องที่ทำต่อเนื่องมาเป็นเวลานานต้องได้รับการแก้ไขหากต้องการเป็นผู้สูงอายุไทยที่มีสุขภาพดี ถัดจากเรื่องอาหารการกินก็เป็นการปรับพฤติกรรมเรื่องการออกกำลังกายและการพักผ่อน พฤติกรรมผู้สูงอายุที่ปฏิบัติกันมานานมักทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่แย่แทนที่จะเป็นการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นหรือป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกลับจะทำให้สุขภาพแย่ลง นอกจากการกินอาหารที่เหมาะสมได้สัดส่วนแล้วการจัดเวลาสำหรับออกกำลังกายและการพักผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน พฤติกรรมผู้สูงอายุส่วนมากจะกินแล้วไม่ค่อยออกกำลังกายทำให้น้ำหนักเกินและเกิดโรคอ้วนลงพุงซึ่งเกิดกับผู้สูงอายุไทยจำนวนมากและเป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา ดังนั้นผู้สูงอายุควรกำหนดเวลาสำหรับออกกำลังกายและพักผ่อนในแต่ละวันเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุเอง

วัยสูงอายุเป็นวัยที่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม ทำให้ผู้สูงอายุต้องพบกับปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรัง จิตใจหดหู่ ภาวะซึมเศร้า ฯลฯ แต่หากผู้สูงอายุยอมรับความเปลี่ยนแปลงและพยายามปรับตัวจะทำให้ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุลดลงและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุน้อยลงซึ่งการปรับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุจะเป็นการลดผลกระทบและช่วยป้องกันโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพในเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอและทำอารมณ์ให้แจ่มใสไม่เครียดก็จะช่วยลดปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุไทยให้น้อยลงได้

สรุปปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุที่พบได้บ่อยมีดังนี้

1. ปัญหาเรื่องกระดูกพรุนของผู้สูงอายุทำให้เกิดการหกล้มหรืออุบัติเหตุ อาจเกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกันเช่น ด้วยอายุที่มากขึ้น การมีโรคประจำตัว ระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนไป ฯลฯ อาจทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลงและกระดูกมีความเปราะบาง เมื่อผู้สูงอายุเดินสะดุดหรือหกล้มแม้จะไม่หนักมากแต่ก็อาจทำให้กระดูกที่พรุนเกิดการแตกหักหรือผิดรูปได้

2. ปัญหาเรื่องผู้สูงอายุความจำเสื่อม ผู้สูงอายุจะมีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา จำสถานที่ไม่ได้ ลืมข้าวของ ลืมนัดหมอ ฯลฯ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากเนื้อสมองบางส่วนมีการเสื่อมสลายหรือตายทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับความจำเสื่อมได้

3. ปัญหาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามวัยและอาจมีสาเหตุอื่นร่วมด้วยเช่น ความเครียด โรคประจำตัว การดื่มชากาแฟ ในตอนเย็นหรือนอนกลางวันมากเกินไปก็อาจเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุควรนอนกี่ชม. โดยปกติคนเราควรนอนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 7-9 ชั่วโมงอาจจะแตกต่างกันไปบ้างตามวัยซึ่งอาจบวกลบได้ประมาณ 1 ชั่วโมงหากนอนน้อยกว่านี้จะพักผ่อนไม่เพียงพอ สำหรับผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องการนอนคือหลับยาก ชอบนอนกลางวัน ทั้งนี้พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้เกิดปัญหาการนอนของผู้สูงอายุ ด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ทำให้ระบบของร่างกายที่เกี่ยวกับสร้างฮอร์โมนทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะสารเมลาโทนินที่หลั่งออกมาช่วยให้หลับง่าย เมื่อนอนกลางคืนไม่พอจึงทำให้เกิดพฤติกรรมนอนกลางวัน(ทำไมผู้สูงอายุนอนทั้งวัน) พอนอนกลางวันมากขึ้นก็ทำให้พอถึงเวลานอน(กลางคืน)ก็จะนอนไม่หลับหรือหลับยาก

สมุนไพรอะไรช่วยให้นอนหลับ ผักอะไรช่วยให้หลับง่าย สมุนไพรช่วยนอนหลับลึกได้แก่ เห็ดหลินจือ ใบขี้เหล็ก มะระ ผักใบเขียวเข้ม ผักโขมและกลิ่นลาเวนเดอร์ ฯลฯ ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้มีสารสำคัญคือแคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียม ที่จะช่วยลดความตึงเครียดของระบบประสาททำให้เกิดความผ่อนคลายทำให้หลับได้ง่ายและหลับลึกขึ้น หากใช้วิธีแบบธรรมชาติแล้วไม่ได้ผลก็อาจต้องหาอาหารเสริม(วิตามิน)ที่มีสารอาหารที่ช่วยในการนอนหลับ(แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม) มาเป็นทางเลือกเพื่อช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุอีกทางหนึ่ง

4. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุ คือปัญหาที่ร่างกายของผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อาจเกิดจากการเบื่ออาหาร ปัญหาการกลืนอาหารลำบากและสำลักบ่อย ปัญหาการทำงานของโครงสร้างในช่องปากผิดปกติทำให้เกิดปัญหากับการเคี้ยวอาหาร การกลืน และสำลักบ่อย

5. ปัญหาผู้สูงอายุกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจเกิดจากหลายปัจจัยเช่น มีโรคประจำตัว ระบบทางเดินปัสสาวะทำงานผิดปกติจากอายุที่มากขึ้นหรือเกิดจากต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุที่เป็นเพศชาย เป็นต้น

6. ปัญหาเรื่องการรับประทานยาในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนมากสายตาไม่ดีและมีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาเป็นประจำประกอบกับความจำเริ่มเสื่อมหรือมีอาการหลงลืมทำให้เกิดปัญหาตั้งแต่การหยิบยาผิด กินยาไม่ครบหรือลืมกินยา บางคร้้งก็อาจกินยามากเกินไป(ลืมไปว่ากินยาแล้ว) ทำให้สุขภาพแย่ลงได้

7. ปัญหาหูตึงในผู้สูงอายุ ร่างกายที่เสื่อมถอยนั่นคืออาจรวมถึงความเสื่อมของประสาทหูทำให้เกิดอาการหูตึงได้ยินเสียงไม่ชัดทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารกับคนรอบข้างได้.